กรม พัฒนาธุรกิจการค้าได้ตั้งกองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อดำเนินการ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มต้นด้วยการ
- กำหนด ให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ต้องมาจดทะเบียน เพื่อให้สามารถรู้ถึงการมีอยู่จริงของผู้ประกอบการว่า เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไร และนำมากำหนดแนวทางในการส่งเสริมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในการประกอบ ธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม และประสบผลสำเร็จมากขึ้น
- เปิด ให้บริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace) ผ่านทางเว็บไซต์ bangkrasor.com เพื่อช่วยส่งเสริมการตลาด และจัดหาตลาดให้ผู้ประกอบการสามารถทำการซื้อขาย
ผ่านทางเว็บไซต์ได้
ประโยชน์ของการจดทะเบียน
- การจดทะเบียน จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความน่าเชื่อถือ และผู้บริโภคมีความมั่นใจในการตัดสินใจทำธุรกรรมมากขึ้น
- กรมฯ จะนำรายชื่อเว็บไซต์ที่ขึ้นทะเบียน มาจัดทำเป็นฐานข้อมูล แยกตามประเภทธุรกิจ (e-Directory) นำไปเผยแพร่แก่ผู้ประกอบการและประชาชนผู้สนใจผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ประกอบการอีกทางหนึ่ง
- ผู้ ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนแล้ว สามารถยื่นขอใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (Trustmark) จากกรมฯ และหากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กรมฯ กำหนด ผู้ประกอบการจะได้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ และสามารถนำเครื่องหมายนี้ไปติดไว้ที่หน้าเว็บไซต์ของตน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซต์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง
- การ ได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมการอบรมสัมมนา การได้รับคำแนะนำ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ผู้ มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งประกอบพาณิชยกิจในเชิงพาณิชย์อันเป็นอาชีพปกติ ดังนี้
- ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ
- บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
- ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)
- บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace)
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน
- คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และ รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบ )
- สำเนาบัตรประจำตัว
- กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- กรณี นิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- หนังสือชี้แจง (กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด)
กำหนดเวลาการยื่นคำขอจดทะเบียน
ผู้ ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ ให้ยื่นขอจดทะเบียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบการ
ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ต้องจดทะเบียน
- มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า e-mail หรืออื่น ๆ
- มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครดิต หรือ e-cash เป็นต้น
- มี ระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ) เช่น บริการหาคู่ บริการข่าวสาร/บทความ/หนังสือ รับสมัครงาน เป็นต้น
- มีวัตถุที่ประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น
- รับ จ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ เพราะถือว่าการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต
- เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน)
- เว็บไซต์ ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ Download โปรแกรม เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น
ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องจดทะเบียน
-
มี เฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจโทร.ติดต่อ… หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ….
-
การ โฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่อง ทางค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม
-
การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
-
การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า
-
เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
-
เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือ ค่าใช้จ่ายใด ๆ
-
ร้าน อินเทอร์เน็ตที่ให้บริการในการเล่น net ที่เจ้าของร้านได้รายได้จากค่าชั่วโมงการเล่นอินเทอร์เน็ต (อินเทอร์เน็ตคาเฟ่) และ เกมส์คอมพิวเตอร์ ประเภทนี้ เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตฯ ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ให้จดทะเบียนพาณิชย์ ปกติ (ถือเป็นพาณิชยกิจธรรมดา ในช่องทางปกติ ไม่ใช่ e-Commerce )
การจองชื่อนิติบุคคล
การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดหรือแม้แต่การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัดตามพระราชบัญญัติ บริษัท มหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ต่างก็กำหนดหัวข้อแรกของการจดทะเบียน ไว้ว่านิติบุคคลที่ขอจดทะเบียนจะต้องมีชื่อจึงจะนับได้ว่ามีการจดทะเบียน อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการจองชื่อนิติบุคคลมิใช่การจดทะเบียน แต่เป็นกระบวนงานหนึ่งก่อนการจดทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ ให้บริการแก่ ผู้ขอจดทะเบียน อนึ่ง ชื่อที่จองไว้นี้จะใช้ในการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหรือจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลก็ได้
เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่าชื่อนิติบุคคลจะต้องไม่พ้องหรือมีชื่อเรียก ขานตรงกันหรือคล้ายคลึงกับชื่อนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงมี ระเบียบกำหนดว่าก่อนยื่นจดทะเบียนจะต้องขอจองชื่อก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะใช้ชื่อ
1. หลักเกณฑ์ในการจองชื่อนิติบุคคล
1.1ชื่อนิติบุคคลต้องไม่มีคำหรือข้อความใดดังต่อไปนี้
(1) พระนามของพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี รัชทายาท หรือพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์ปัจจุบัน เว้นแต่จะได้รับพระบรมราชานุญาต
(2) ชื่อกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานหรือองค์การของรัฐ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้อง
(3) ชื่อประเทศ กรณีใช้ชื่อประเทศเป็นส่วนหนึ่งของชื่อให้ระบุไว้ในวงเล็บต่อท้ายชื่อ
(4) ชื่อที่อาจก่อให้เกิดสำคัญผิดว่า รัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วน ท้องถิ่น หน่วยงาน หรือองค์การของรัฐทั้งของประเทศไทยหรือต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศเป็นเจ้าของหรือ ผู้ดำเนินการ
(5) ชื่อที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(6) ชื่อซึ่งมีคำว่า “บริษัทมหาชนจำกัด” “บริษัทจำกัด (มหาชน)” “บมจ” “สมาคมการค้า” หรือ “หอการค้า” หรือชื่อที่คล้ายกันหรือเรียกขานคล้ายกับคำเช่นว่านั้น
(7) ชื่อภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจข้อมูลเครดิต กิจการประกันภัย กิจการจัดหางาน และกิจการคลังสินค้า หรือชื่อที่มีคำใดคำหนึ่งที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้และ ที่จะกำหนดขึ้นในภายหลังประกอบชื่อเว้นแต่จะได้แสดงหลักฐานความเห็นชอบ ให้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท เพื่อประกอบธุรกิจดังกล่าวได้จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
คำว่า “โรงเรียน” “สถาบัน” “วิทยาลัย”“มหาวิทยาลัย” หรือคำในภาษาต่างประเทศที่มีความหมายอย่างเดียวกัน เว้นแต่จะได้แสดงหลักฐานความเห็นชอบให้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจดังกล่าวได้จาก ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(8) ชื่อที่เป็นการสลับชื่อระหว่างห้างหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนกับบริษัท หรือบริษัทกับบริษัท
(9) ชื่อที่เหมือนหรือมีเสียงเรียกขานตรงกันกับชื่อของห้างหุ้นส่วน หรือชื่อในหนังสือบริคณห์สนธิ หรือชื่อบริษัทที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนหรือนายทะเบียนได้รับจดทะเบียน ไว้ก่อนแล้ว ซึ่งอาจทำให้เกิดความหลงผิดได้ เว้นแต่
(9.1) ชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อแล้ว หรือ
(9.2) ชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว หรือ
(9.3) ชื่อในหนังสือบริคณห์สนธิซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนแล้วและปรากฏข้อความว่า ผู้เริ่มก่อการ ทุกคนตกลงให้หนังสือบริคณห์สนธิฉบับนั้นสิ้นผลและไม่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทภายในสิบปีนับแต่วันที่จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
(10) ชื่อที่เหมือนหรือมีเสียงเรียกขานตรงกับชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด ที่นายทะเบียนขีดชื่อ ออกจากทะเบียนแล้ว เว้นแต่จะพ้นเวลาสิบปีนับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อ
(11) ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่สามารถใช้เป็นชื่อห้างหุ้นส่วนและบริษัทแนบท้ายระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2554
1.2 ชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัททั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ จะต้องมีคำแสดงประเภทนิติบุคคล ตามประกาศที่ออกตามความ ในพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยว กับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 ชื่อภาษาต่างประเทศของห้างหุ้นส่วนบริษัทจะต้องมีคำเรียกขานหรือความหมายตรงกับชื่อภาษาไทย
2. วิธีการจองชื่อนิติบุคคลและการกรอกแบบพิมพ์
2.1 วิธีการจองชื่อนิติบุคคลสามารถจองชื่อนิติบุคคลได้ตามวิธีการดังนี้
(1) ทางระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยให้ลงทะเบียนได้ที่ www.dbd.go.th
(2) ยื่นแบบจองชื่อต่อนายทะเบียน
2.2 วิธีการกรอกแบบพิมพ์
(1) ทางระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) ให้กรอกรายละเอียดลงในแบบที่ปรากฏ ในจอคอมพิวเตอร์
(2) ยื่นแบบจองชื่อต่อนายทะเบียน ให้ดำเนินการ ดังนี้
- ให้ผู้เริ่มก่อการ กรรมการ ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ แล้วแต่กรณี กรอกรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้และ เป็นผู้ลงลายมือชื่อ ในแบบจองชื่อนิติบุคคลที่นายทะเบียนกำหนดขึ้น โดยนำไปยื่นด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่น (ระบุชื่อผู้รับมอบอำนาจพร้อมผนึกอากรแสตมป์ 10 บาท) ยื่นขอจองชื่อ ต่อนายทะเบียน จำนวน 2 ฉบับ
- ขอจองชื่อได้คราวละไม่เกิน 3 ชื่อโดยให้เรียงชื่อตามลำดับความต้องการก่อนหลัง เพราะ นายทะเบียนจะไม่พิจารณาชื่อลำดับถัดไปหากชื่อลำดับก่อนได้รับการอนุญาตให้ใช้แล้ว
- การกรอกแบบจองชื่อนิติบุคคล ใช้พิมพ์ดีดหรือเขียนด้วยตัวบรรจง ก็ได้
3. ผู้ขอจองชื่อนิติบุคคล
ผู้ที่ขอจองชื่อนิติบุคคลจะต้องมีความสัมพันธ์กับนิติบุคคลนั้นๆได้แก่ผู้ เป็น หุ้นส่วน หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน หรือผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการของบริษัท
คำแนะนำ
1. การขอจองชื่อนิติบุคคลจะต้องเป็นภาษาไทยและให้ระบุภาษาต่างประเทศเป็นอักษรโรมันด้วยทุกครั้ง
2. ในกรณีตั้งใหม่ถ้าไม่ได้ระบุประเภทนิติบุคคลจะนำไปจดทะเบียนนิติบุคคลประเภท ใดหรือนำไปจดทะเบียน ที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทใดก็ได้
3. แบบขอจองชื่อนิติบุคคลที่นายทะเบียนอนุญาตให้จองชื่อได้แล้ว ต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งอนุญาต
สถานที่ยื่นจดทะเบียนหรือจองชื่อนิติบุคคล
- ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นจดทะเบียนหรือจองชื่อนิติบุคคลต่อสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 หรือ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แห่งใดก็ได
- ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (ชั้น 10 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ นนทบุรี) โทร. 0 2547 5153-5
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 1 (อาคาร ถ.มหาราช) โทร. 0 2622 0572-3
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 2 (อาคาร ถ.พระราม 6) โทร. 0 2618 3345
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 3 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7268
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 4 (อาคารยูไนเต็ดเซ็นเตอร์ ถ.สีลม) โทร. 0 2266 5853-4
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 5 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7255
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 6 (อาคารโมเดิอร์นฟอร์ม ถ.ศรีนครินทร์) โทร. 0 2722-8366-7
- สำนักงานบริการการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ ถ.รัชดาภิเษก) โทร. 0 2276 7253
- ผู้ ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะตั้งอยู่อำเภอใด ให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้น ๆ เพียงแห่งเดียว
TAGS
โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, โลโก้ฮวงจุ้ย, logoฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, โลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, โลโก้ ฮวงจุ้ย, ฮวงจุ้ย โลโก้, ออกแบบโลโก้, logo ฮวงจุ้ย, ออกแบบโลโก้, ออกแบบโลโก้ ฮวงจุ้ย, โลโก้, ฮวงจุ้ยตรายาง, ฮวงจุ่ยลายเซ้นต์, วิเคราะห์ลายเซ็นต์ตามหลักฮวงจุ้ย, ตรายางบริษัท, เครื่องหมายการค้า, ตรา, เครื่องหมาย, Trademark, รูปโลโก้, สัญลักษณ์, ลายเซ้นต์, ทำโลโก้, ภาพโลโก้, โลโก้บริษัท, ออกแบบ, logo, รับออกแบบโลโก้, แบบโลโก้, ฮวงจุ้ย, แสนโกฏิ์, sango, แสนโกฏิ์
Email: plyfasai@gmail.com
Copyright © 2008 by Sango.igetweb.com, All Rights Reserved. Engine by Sango8.myreadyweb.com